เรื่องที่ศึกษา รายงานผลการใช้ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์
เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนปลาปากวิยา
จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครพนม
ผู้รายงาน
เขมณัฏฐ์ โสภณกุลวณิชย์
ปีที่ศึกษา
พ.ศ.2563
บทคัดย่อ
การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพ
80/80
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการใช้
ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้อง 1-3
และ 7 จำนวน 128 คน โรงเรียนปลาปากวิทยา อำเภอปลาปาก
จังหวัดนครพนม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาศึกษานครพนม
ภาคเรียนที่
1 ปีการศึกษา 2563 จำนวน
128
คนซึ่งได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้ คือ 1)
ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นและให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยตรวจสอบและทดลองหาประสิทธิภาพจากนักเรียนรายบุคคล
นักเรียนกลุ่มเล็กมีประสิทธิภาพเท่ากับ
72.82/71.13 และการทดลองภาคสนามมีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.16/81.43 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง
การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่
1 ห้อง 1- 3 และ7
เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ
มีความเชื่อมั่น .86 และ 3)แบบสอบถามเจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นโดยใช้รูปแบบลิเกิร์ต จำนวน
20 ข้อ มีความเชื่อมั่น .83
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย () , ร้อยละ, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D.) และสถิติการทดสอบค่าทีกรณีกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน
(t-test for Dependent Samples)
ผลการศึกษาพบว่า
1.
ชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.16/81.43
2.
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง
การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.
เจตคติต่อการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนหลังเรียนด้วยชุดฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
|